วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ซอฟแวร์ด้านหุ่นยนต์

ขอต้อนรับสู่โลกของหุ่นยนต์ (ROBOT ZONE)
ในส่วนของโลกของหุ่นยนต์นี้ จะมุ่งไปที่เรื่องราวของหุ่นยนต์เท่าที่จะหาข้อมูลมาได้ครับ เช่น การเรียนรู้การออกแบบการสร้างหุ่นยนต์
แบบง่าย ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่ต้องใช้โปรแกรมในการควบคุม อุปกรณ์สำหรับในการสร้างหุ่นยนต์ วงจรการควบคุมสำหรับหุ่นยนต์แบบ
ต่างๆ รวมไปถึงบทความ โครงงานต่างๆที่จะนำมาลงไว้ในส่วนของหุ่นยนต์แห่งนี้ครับ

ที่มาที่ไปของหุ่นยนต์ ในสมัยก่อนหุ่นยนต์เป็นเพียงการจิตนาการของมนุษย์ ว่าในวันข้างหน้าจะต้องมีเครื่องจักรที่สามารถมาใช้งาน
แทนมนุษย์ได้ และในช่วง ประมาณ ค.ศ.1942 ไอเซก อะซิมอฟ ได้เขียนนิยายเรื่องสั้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ ซึ่งโด่งดังมาก จากนั้น

หุ่น ยนต์ หรือ Robot จะไม่ได้อยู่ในจิตนาการอีกต่อไป แต่จริงๆแล้วเครื่องจักรหรือเครื่องกลที่สามารถทำงานแทนมนุษย์นั้นมีมานาน
แล้ว เช่น นาฬิกาน้ำ สร้างขึ้นเมื่อ 250 ปีก่อนคริสตร์กาล หุ่นยนต์ได้มีการพัฒนาการรูปต่างๆกันโดยมนุษย์ มีการนำเทคโนโลยีมา
ใส่ไว้ในตัวหุ่นยนต์ ทำให้หุ่นยนต์มีความสามารถในการทำงานมากขึ้น รวมทั้งมีการตัดสินใจได้ด้วยตัวเองซึ่งจะใช้เทคโนโลยีที่เรียก
ว่า AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์

ปัจจุบันหุ่นยนต์ได้นำมาใช้งานมากมาย ตามโรงงานต่างๆจะใช้หุ่นยนต์ในการประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ บางมหาวิทยาลัยได้มีการ
วิจัยพัฒนารูปแบบของหุ่นยนต์ให้มีความสามารถมากขึ้น บางบริษัทก็หันมาพัฒนาหุ่นยนต์ให้เป็นที่รู้จักกันมากมาย ทั้งเอาไว้เพื่อ
ความบันเทิง หรือเอาใช้ใช้ประโยชน์ ประเทศที่มีการใช้หุ่นยนต์หรือมรการพัฒนาหุ่นยนต์คงหนีไม่พ้น ญี่ปุ่น และอเมริกา ในอนาคต
เราคงจะได้เห็นการใช้ประโยชน์จากหุ่นยนต์กันมากขึ้น หรือ อาจจะมาเป็นเพื่อนของมนุษย์เลยก็ว่าได้

เริ่มเรียนรู้หุ่นยนต์จากที่นี่ น้องๆที่สนใจการออกแบบ การสร้างหุ่นยนต์คงจะต้องติดตามข่าวสารในเว็บนี้ด้วยนะครับเพราะว่า
ทางทีมงานจะพยายามหาแหล่งความรู้ของหุ่นยนต์ การสร้างหุ่นยนต์ในรูปแบบต่างๆ รวมกันการเขียนโปรแกรมสำหรับ
สั่งงานให้หุ่นยนต์ทำงานในรูปแบบต่างๆ โดยจะเริ่มตั้งแต่ระดับที่ง่าย สำหรับน้องๆที่สนใจ คงจะต้องพยายามอ่านบทความต่างๆ
ที่ทางทีมงานเขียนไว้นะครับ เพราะการที่เราจะเรียนรู้การสร้างหุ่นยนต์ คงจะต้องใช้ความรู้หลายอย่าง เช่น ความรู้ทางด้าน
อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ครับ

ความหมายของหุ่นยนต์ และ กฎของหุ่นยนต์ คำว่าหุ่นยนต์จะหมายถึง เครื่องจักรที่ทำงานแทนมนุษย์โดยมีคำสั่งที่มนุษย์ป้อนให้

กฎของหุ่นยนต์
1. หุ่นยนต์ต้องไม่ทำร้ายมนุษย์ และหุ่นยต์ต้องช่วยเหลือมนุษย์
2. หุ่นยนต์ต้องเชื้อฟังคำสั่งของมนุษย์ แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับข้อ 1
3. หุ่นยนต์สามารถป้องกันตัวเองได้แต่ต้องไม่ขัดแย้งกับข้อที่ 1 และ 2



อุปกรณ์สำหรับสร้างหุ่นยนต์ + + + + + + +

ชุดคิทหุ่นยนต์ เดินตามเส้น หุ่นยตต์เดินตามแสง และหุ่นยนต์เดินหลบหลีก
มีทั้งแบบชุดคอท (ประกอบเอง) ชุดสำเร็จ และวงจร
รายละเอียดเพิ่มเติม
มอเตอร์ทดรอบขนาดเล็ก 48 :1 , 87 :1 , 120 : 1 , 288 :1 และแบบ 2 แกน รายละเอียดเพิ่มเติม
ล้ดสำหรับมอเตอร์ และ ล้อหลังแบบหมุนได้รอบทิศทาง รายละเอียดเพิ่มเติม
มอเตอร์ทดรอบแกนเหล็ก 12VDC และ 24VDC รายละเอียดเพิ่มเติม
เพื่อง โซ่ และข้อต่อแบบต่างๆ รายละเอียดเพิ่มเติม
อุปกรณ์อื่นๆ รายละเอียดเพิ่มเติม

หลักสูตรทางด้านหุ่นยนต์ ++++++++++

การโปรแกรมหุ่นยนต์เบื้องต้น
หลักสูตรนี่จะเน้นไปที่การเขียนโปแกรมสำหรับหุ่นยนต์ชั้นต้น โดยจะใช้ไมโครคอนโทรเลอร์ PIC หรือ AVR
และใช้ ภาษา C หรือ C Arduio สามารถเลือกไมโครคอนโทรเลอร์ได้
หลักสูตรนี่จะแบ่งเป็น 3 ระดับคือ
การโปแกรมหุ่นยนต์ 1 จะเป็นการการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และ การเขียนหุ่นยนต์เบื้องต้น ใช้ตัวตรวจจับ
จำนวนน้อย หุ่นยนต์ที่มาเขียนได้ เช่น หุ่นยนต์วิ่งตามเส้น หุ่นยนต์หลบหลีกสิ่งกีดขวาง เป็นต้น
การโปแกรมหุ่นยนต์ 2 จะเป็นการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ที่ซับซ้อนกว่าระดับที่ 1 และมีการใช้ตัวตรวจจับ
มากขึ้น เช่น เซอร์เซอร์วัดระยะทาง การเขียนโปรแกรมควบคุม สเต็ปมอเตอร์ เซอร์โวมอเตอร์ เมื่อจบหลัก
สูตรนี้สามารถเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์แข่งขันเบื้องต้นได้
การโปแกรมหุ่นยนต์ 3 จะเป็นการเขียนโปแกรมหุ่นยนต์สำหรับการแข่งขันในระดับมัฐยมศึกษา โดย
จะเน็นการจำลองสนามแข่งต่างๆ การเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อน เพื่อให้หุ่นยนต์มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

การโปรแกรมหุ่นยนต์พิเศษ จะเป็นการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ที่ใช้ในการสร้างโครงงานต่างๆ


หลักสูตรสำหรับสำหรับเด็กประถม ( ป3 - ป6 )
หลักสูตรสำหรับเด็กเล็ก ระดับประถมศึกษา จะประกอบไปด้วย ความรู้เบื้องต้นทางด้าน ไฟฟ้า - อิเล็กทรอนิกส์
และ หุ่นยนต์เบื้องต้น ซึ่งเป็นหลักสุตรที่เน้นการปฎิบัติ โดยจะมีเนื้อหาการสอนตามลำดับดังนี้
1. เรียนรู้หุ่นยนต์เบื้องต้น ซึ่งจะเป็นเนื้อหาความรู้ทางด้านหุ่นยนต์เบื้องต้น ชม VDO หุ่นยนต์ ต่างๆ
2. พื้นฐาน การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ จะเป็นภาคปฎิบัติ การต่อวงจรไฟฟ้าควบคุมการทำงานของมอเตอร์ซึ่งจะเป็น
พื้นฐาน ของการควบคุมมอเตอร์ในการบังคับหุ่นยนต์ ต่อไป
3. การประดิษฐ์ หุ่นยนต์บังคับมือ พื้นฐาน ( หรือดัดแปลงเป็นหุ่นยนต์วัสดุเหลือใช้) จะเป็นการฝึกการประกอบ
การสร้างหุ่นยนต์แบบบังคับด้วยมือ โดยใช้สายบังคับ โดยจะสอนกาสรบัดกรี การต่อวงจร การทดสอบหุ่นยนต์
และการใช้วัสดุเหลือใช้ในการตกแต่งหุ่นยนต์
4. วงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานและการต่อวงจรเบื้องต้น จะเป็นการต่อวงจรพื้นฐานในแผ่นทดลองวงจร
ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้การใช้งาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานที่จะใช้ในการสร้างวงจรขนาดเล็กได้
5. การต่อวงจรสำหรับวงจรหุ่นยนต์อัตโนมัติ และหลักการทำงานเบื้องต้น จะเป็นการต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งต่อจากหัวข้อที่ 4 แต่จะเป็นการ ต่อวงจรสำหรับหุ่นยนต์เป็นหลัก ซึ่งจะมีการประกอบโครงหุ่นยนต์ ขึ้นใหม่สำหรับ
ในการสร้างโครงงาน เช่น หุ่นยนต์ เดินตามเส้น หุ่นยนต์เดินตามแสง หุ่นยนต์เดินตามเสียง เป็นต้น
6. วงจรอัตโนมัติ จากหนังสือ 35 in 1 Robot จะเป็นการต่อวงจรตามหนังสือ 35 in 1 Robot โดยจะสอน
ต่อวงจรที่ง่ายสำหรับผู้เรียน
7. ทดลองการบังคับหุ่นยนต์เดิน 2 ขา จากคอมพิวเตอร์ เป็นการทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์เดิน 2 ขา
โดยจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งสามารถควบคุมให้หุ่นยนต์เดินไปมา หรือ ประยุกต์ไปใช้งานด้านอื่นๆได้
8. การเขียนโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์ อัตโนมัติ จะเป็นการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
ของหุ่นยนต์ โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เช่น Logo หรือ ภาษา เบสิก เป็นต้น
บทความ / สาระน่ารู้ด้านหุ่นยนต์ + + + + +
มอเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในการสร้างหุ่นยนต์



ชมรมด้านหุ่นยนต์จากสถาบันการศึกษา
EIC - Engineering Innovator Club
ชมรมนักประดิษฐ์ หุ่นยนต์ จากจุฬา,
ชมรมRobot ชมรมหุ่นยนต์ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชมรมโรบอทคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชมรมหุ่นยนต์พระจอมเกล้าลาดกระบัง
ชมรมMECHATRONIC CLUB ชมรมแมคคาคอนิกส์ ทางด้านหุ่นยนต์ จากม.ขอนแก่น
หน่วยงานวิจัยหุ่นยนต์ไทย
สถาบันวิทยาการ หุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้ FIBO)
สมาคมวิชาการ หุ่นยนต์ไทย   
Robotics and Automations Laboratory จุฬา
Human Robotics Laboratory จุฬา  

ภาควิชา Mechatronics Engineering ม.มหานคร
ภาควิชา วิศวกรรม ระบบควบคุม พระจอมเกล้าลาดกระบัง
ภาควิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ม.เอเชียอาคเนย์  
ห้องLAB งานวิจัยหุ่นยนต์ทั่วโลก
Humanoid Robotics Group ห้องวิจัยหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ ( MIT )
Hirose Fukushima Lab สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว
JSK ม.โตเกียว
Burdick Group vision.caltech (CALTECH)
sms Lab สถาบันเทคโนโลยีสวิส ซูริค

เว็บไซต์ด้านหุ่นยนต์
ชุมชนคนรักหุ่นยนต์ TDA Robot
บทความทางด้านหุ่นยนต์ของ อ.. ชิต เหล่าวัฒนา
การแข่งขันRobocupระดับโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น